ดาราศาสตร์ บทที่ 4 ธรณีประวัติ

ธรณีประวัติ
ข้อมูลทางธรณีววิทยาอธิบายความเป็นมาขิงพื้นที่ในอดีต ที่นิยมใช้ มี 3อย่าง ดังนี้
- อายุธรณีวิยา
- ซากดึกดำบรรพ์
- ลำดับชั้นหิน
อายุธรณีวิทยา
 1.  อายุเปรียบเทียบ (relative  age)  เป็นการหาอายุหิน โดยการนำข้อมูลลักษณะโครงสร้างของหินหรือ
ซากดึกดำบรรพ์ที่ทราบอายุ ไปเปรียบเทียบกับช่วงเวลาทางธรณีวิทยา หรือธรณีกาล (geologic age)  ดังตาราง
รูปที่ 1 ก็สามารถบอกอายุของหินว่าอยู่ในยุคใด หรือช่วงอายุเป็นเท่าไรได้
 2.  อายุสัมบูรณ์ (absolute  age)  เป็นการหาอายุของหินหรือซากดึกดำบรรพ์  โดยใช้วิธีคำนวณจากครึ่งชีวิต
ของธาตุกัมมันตรังสีที่อยู่ในหิน หรือซากดึกดำบรรพ์นั้น ๆ ซึ่งสามารถบอกเป็นจำนวนปีที่ค่อนข้างแน่นอน
              ธาตุกัมมันตรังสีที่นิยมนำมาหาอายุสัมบูรณ์ ได้แก่  ธาตุคาร์บอน-14  ธาตุโพแทสเซี่ยม-40 ธาตุเรเดียม-226
และธาตุยูเรเนียม-238 เป็นต้น
ซากดึกดำบรรพ์
ซากดึกดำบรรพ์เป็นซากพืชซากสัตว์ที่ตายทับถมอยู่ในชั้นหินตะกอนเเล้วเปลี่ยนเป็นหิน
- ซากดึกดำบรรพ์บางชนิดปรากฎให้เห็นเป็นช่วงชันสั้นๆ ดังนั้นสามารถใช้บอกอายุของหินที่มีซากนั่นอยู่ได้ ซากดึกดำบรรพ์ประเภทนี้เรียกว่า ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี
- ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี คือซากดึกดำบรรพ์ที่บอกช่วงอายุได้เเน่นอน เเละปรากฎให้เห็นเพียงช่วงอายุหนึ่งเเล้วก็สูญพันธ์ นักธรณ๊วิทยาจะนิยมใช้วิธีนี้หาอายุของหินตะกอน
-ประเทศไทยพบซากดึกดำบรรพ์ดัชนี ไทรโลไบต์ บริเวณเกาะตะรุเตา แกรปโตไลต์ อำเภอฝาง เชียงใหม่ เป็นต้น

ซากดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย
- มีกรค้นพบซากไดโนเสาร์ บริเวณ อ.ฝาง จ.ขอนเเก่น เป็นไดโนเสาร์กินพืช บริเวณภูกุ้มข้าว อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์
- ซากดังกล่าวจะพบในหินทราย หินทรายเเป้งซึงเป็นหินชนิดหนึ่งในหินตะกอน
- ซากดึกดำบรรพ์พืชที่พบในประเทศไทย ได้เเก่ ใบไม้ ละองเรณู สปอร์ สาหร่ายทะเล เเละไม้กลายเป็นหิน
- ความเปลี่ยนเเปลงของชนิดซากดึดำบรรพ์สามารนำมาจัดอายุทางธรณีวิทยา เรียกว่า ธรณีกาล

การลำดับชั้นหิน
เนื่องจากชั้นหินเกิดจจากทับถมกันของตะกอน ดังนั้น หินตะกอนที่อยู่ด้านล่างจะเกิดก่อน เเละหินที่อายุน้อยกว่าจะซ้อนอยู่ด้านบนเป็นชั้นๆ ตามลำดับ
- การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค แผ่นดินไหว หรรือภูเขาไฟระเบิด ทำให้ชั้นหินที่อยู่ในเเนวราบเกิดการเอียงเท
- โครงสร้างทางธรณีวิทยาในชั้นหิน เช่น รอยเลื่อน รอยคดโค้ง สามารถอธิบายประวัติความเป็นมาของพื้นที่นั้นได้













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น